วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 และพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชกําหนดดังกล่าวได้ให้อํานาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอํานาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลง ทั้งแปลงได้ ดังนั้นการจัดวางโครงการทําไม้ทั่วประเทศต้องยุติลงทุกโครงการและทุกพื้นที่ เหตุเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2531 โดยเฉพาะที่ตําบลกระทุน อําเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อพ.ศ. 2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการ ลักลอบตัดไม้ทําลายป่า จําเป็นต้องทําการรณรงค์ต่อเนื่องและระยะยาวให้ประชาชนได้เข้าใจ และให้ ความสําคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยสร้างจิตสํานึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจ เกิดขึ้นจากการตัดไม้ทําลายป่าเพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจํากัดมิให้ถูกทําลายต่อไป พร้อม ทั้งได้กําหนดให้ช่วงปี 2532 2535 เป็น “ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ” และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2533 กําหนดให้วันที่ 14 มกราคม ของทุกปี เป็น “วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ”
ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม