ข่าวประชาสัมพันธ์

สอนออนไลน์อย่างไรให้เด็กไม่เบื่อ II

หนึ่งปีผ่านไปไวเหมือนโกหก
จากสอนออนไลน์อย่างไร…ให้เด็กไม่เบื่อ?
มีท่านอาจารย์ถามถึงตอนต่อไปแถมตั้งชื่อมาให้ด้วยว่า…
ทำอย่างไร…ไม่ให้ครูเบื่อสอนออนไลน์? 😉

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์นะคะ
กลับมาอีกครั้งตามคำเรียกร้องค่ะ
พร้อมด้วยรางวัลสิ่งประดิษฐ์ GENEVA 2022

คณะวิจัยชุดโครงการ “การพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ผ่านการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริง” ทุน Fundamental Fund 2564-2565 ขอเชิญชวนนักวิจัย คุณครู และท่านอาจารย์ร่วมรับฟังการประชุม เรื่อง

#สอนออนไลน์อย่างไรให้เด็กไม่เบื่อ II
ในวันที่ 28-29 เม.ย. 65 ดังนี้นะคะ 🙂

28 เม.ย. 65

– “นวัตกรรมกับการพัฒนาการศึกษาชาติ” (English + Thai)
คุณเฉลิมพล ปุณโณทก (CT Asia Robotics)
ดร.มงคล มีลุน (DSI)
ดร.ขวัญฤทัย บุญยะเสนา (เหรียญทอง GENEVA 2022)
อ.พีรณัฎฐ์ ยาทิพย์ (EngJOY 3D App)
อ.พรคิด อั้นขาว (เหรียญทอง GENEVA 2022)

– “COVID-19 and Online Learning: Japan’s Situation”
Prof. Dr. Tomoko Kanda (Nihon University)
แปลโดย ดร.สุนทรา เฟื่องฟุ้ง
– “COVID-19 and Active Learning: Finland’s Situation”
Prof. Dr. Milla Kinnunen (ผู้แทนจาก Finland)
แปลโดย อ.มยุรี สวัสดิ์เมือง

29 เม.ย. 65

– “ภาษาอังกฤษกับการเพิ่มรายได้ของบัณฑิตไทย” (English + Thai)
ผศ. ดร.ธีระวัฒน์ เหมือนศรีชัย (ผู้เชี่ยวชาญด้าน CDIO)
Mr. Peter A. Foabeh (อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ)
อ.มยุรี สวัสดิ์เมือง (อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ)
อ.เกียรติศักดิ์ ลาภพาณิชยกุล (ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการศึกษา: เหรียญทอง GENEVA 2022)
ผศ. ดร.เกรียงศักดิ์ เตมีย์ (ผู้เชี่ยวชาญด้าน 3D Application)

– “COVID-19 and On Demand Learning: Australia’s Situation”
Prof. Dr. Kevin Fynn (Curtin University)
แปลโดย ดร.สุนันทา ชูตินันท์
– “Economics and Education: UK’s Situation”
Dr. Francisco Martinez Mora (The University of Leicester)
แปลโดย ดร.ขวัญฤทัย บุญยะเสนา

คุณครู ท่านอาจารย์ รวมถึงผู้สนใจทุกท่าน สามารถลงทะเบียน (ฟรี!) เพื่อขอลิ้งค์เข้าร่วมการรับฟังการบรรยายและร่วมแชร์ประสบการณ์ผ่าน Live สด ทาง Online ได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนะคะ
https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSewWEih4GOAz_I6PauhAr4t4dRaGhBfqCZ9JYfIkKM0E9QISQ/viewform

ขอบคุณมากค่ะ 🙂

หมายเหตุ: หากผู้ร่วมประชุมท่านใดสนใจนำไปขยายผลต่อ สามารถ contact คณะวิจัยได้เลยนะคะ (ยินดีมาก ๆ ค่ะ)